สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
![รูà¸à¸ าà¸à¸à¸µà¹à¹à¸à¸µà¹à¸¢à¸§à¸à¹à¸à¸](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgGX6AUh3x4xKZ4_VKFE8WppWHtTzc6ss3UZz5hpWypqcAK3Yy2hRCBTYr9rlKWYzxl53axFQXTpmIql2oDVV72KBq4tTkr34G5vnmDoqAeWjubESidjNtoDmQba0tcnKkTueSO6B8AUlK2/s320/FB_IMG_1464923156857.jpg)
- เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้วสามารถเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
- เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้ว ไม่สามารถเข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย ตัวอย่างสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
สํานวนไทย จะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมา แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ เป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
ความแตกต่างของ สุภาษิต สำนวน และคำพังเพย
สุภาษิต จะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น” กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี “ หลายคนคงจะได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยกันมาแล้ว และรู้ว่า กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองหลวงของไทยมาก่อน มีประวัติศาสตร์การสู้รบกับอริราชศัตรูมาหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน และไม่ว่าบ้านเมืองจะมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดศึกสงคราม ก็จะมีวีรบุรุษ วีรสตรีมาคอยปกป้อง ฟื้นฟูบ้านเมือง ตัวอย่างเช่น พระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น
ตามตำราหลายๆเล่ม ได้กล่าวถึงที่มาของคำพังเพย ” กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี ” ว่า สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุน ช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า ” คนดีไม่สิ้นอยุธยา ” โดยคนดีในมี่นี้หมายถึง คนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้ มีความกล้าหาญ สติปัญญาเป็นเลิศ ที่ช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากเหตุการณ์เลวร้าย
สรุปความหมาย ” กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี ” หมายถึง เมื่อถึงคราวบ้านเมืองนั้นๆถึงคราวยากลำบาก ก็ยังเหลือคนดีมีความสามารถมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ช่วยเหลือให้ผ่านพ้นไปได้
” เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ” จัดเป็นคำพังเพยนะครับ โดยการเปรียบคนที่ทำอะไรไม่จริงจัง เจออุปสรรคนิดหน่อยก็ถอย ยอมแพ้เอาง่าย กับการเหยียบขี้ไก่ให้แบนฝ่อไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายมาก( ไม่เชื่อลองเหยียบดูสิ ทั้งแบนทั้งเหม็นเลยแหละ )
สรุปความหมาย ของคำพังเพย “ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ” หมายถึง คนที่ทำอะไรไม่จริงจัง ไม่ทุ่มเท ไม่เอาการเอางาน ไม่ตั้งใจทำให้ถึงที่สุด เจออุปสรรคนิดหน่อยก็ล้มเลิก หรือ ทำอะไรมักไม่สำเร็จแม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ ส่วนที่มาของ “ เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ “ คนสมัยโบราณเปรียบคนชนิดนี้ว่า ขนาดกองขี้ไก่ที่มีขนาดเล็ก ยังเหยียบให้ฝ่อหรือแบนไม่ได้
” อดเปรี้ยวกินหวาน ” สำนวนนี้มักใช้ในการให้หนุ่มสาวอดทนอย่าเพิ่งรีบมีความสัมพันธ์กันเร็วไป ให้รอจนสำเร็จการศึกษาเสียก่อน โดยความหมายทั่วไปหมายถึง การอดทนรอไม่คว้าสิ่งที่ล่อใจอยู่ตรงหน้า เพื่อต่อไปสิ่งนั้นๆจะให้ผลลัพธ์กลับมาที่มีค่ามากยิ่งขึ้น
สํานวน ” อดเปรี้ยวกินหวาน ” มีที่มาอย่างไร
สำนวนนี้ได้เปรียบเปรยถึง ผลไม้บางชนิดที่เพิ่งออกผลจะมีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง หากเด็ดผลมากินตอนเพิ่งออกผลจะมีรสเปรี้ยว แต่หากอดทนรอจนมะม่วงสุก แล้วค่อยสอยมากินก็จะได้มะม่วงที่มีรสหวานหอมอร่อย
อ้างอิง
http://www.rakjung.com/thai-no167.html
http://proverbthai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A2
http://proverbthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5.html
http://proverbthai.com/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%AD.html
http://proverbthai.com/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น