ภาษาในฝัน "บาลี สันสกฤต"
ภาษาบาลี และสันสกฤตในภาษาไทย
ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ
ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้
- มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ
- ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ
- นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ
- ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐาน ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้
ภาษาบาลี เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาสันสกฤต คือ ภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาบาลี นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา จุฬา ครุฬ นาฬิกา วิฬาร์ อาสาฬห ฯลฯ ประสมด้วยสระ อะ อิ อุ แทน ฤ ในภาษาสันสกฤต เช่น อิทธิ อิสิ
นิยมใช้พยัญชนะ 2 ตัวซ้อนกัน กิตติ นิพพาน ปัจจัย ปัญญา บุคคล บัลลังก์ ภัตตา มัจจุราช เมตตา วิญญาณ สัญญาณ อัคคี อนิจจา
แบ่งพยัญชนะเป็นวรรคตามฐานที่เกิดและมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอน ดังนี้
พยัญชนะวรรคของภาษาบาลี
![หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี](https://aolfkun.files.wordpress.com/2016/03/image9.jpg?w=584)
หลักตัวสะกดตัวตามภาษาบาลี
- คำบาลี เมื่อมีตัวสะกดต้องมีตัวตาม
- พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้ คือ พยัญชนะแถวที่ 1, 3, 5
- พยัญชนะแถวที่ 1 สะกด พยัญชนะแถวที่ 1, 2 ในวรรคเดียวกันตาม เช่น สักกะ ทุกข์ สัจจะ มัจฉา อิตถี หัตถ์ บุปผา ฯลฯ
- พยัญชนะแถวที่ 3 สะกด พยัญชนะแถวที่ 3, 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ พุทธ อัคคี อัชฌาสัย อวิชชา ฯลฯ
- พยัญชนะแถวที่ 5 สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น สังข์ องค์ สงฆ์ สัญชาติ สัณฐาน สันดาป สันธาน สัมผัส สัมพันธ์ คัมภีร์ อัมพร ฯลฯ
- พยัญชนะเศษวรรค เป็นตัวสะกดได้บางตัว เช่น อัยกา มัลลิกา วิรุฬห์ ชิวหา ฯลฯ
ตัวอย่างคำภาษาบาลี
คำยืมจากภาษาบาลี
|
ความหมาย
|
คำยืมจากภาษาบาลี
|
ความหมาย
|
กิตติ | คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ | ภริยา | ภรรยา, เมีย |
กิเลส | เครื่องทำใจให้หมองเศร้า | มัจจุราช | พญายม |
กิริยา | การกระทำ | มัจฉา | ปลา |
กีฬา | กิจกรรมหรือการเล่น | มัชฌิม | ปานกลาง |
เขต | แดนที่กำหนดขีดคั่นไว้ | มหันต์ | ใหญ่, มาก |
ขณะ | ครู่, ครั้ง | เมตตา | ความรักและเอ็นดู |
คิมหันต์ | ฤดูร้อน | มิจฉา | ผิด |
จตุบท | สัตว์สี่เท้า | มเหสี | ชายของพระเจ้าแผ่นดิน |
จิต | ใจ | มุสา | เท็จ, ปด |
จุฬา | ยอด, หัว, มงกุฏ | มัสสุ | หนวด |
โจร | ผู้ร้ายที่ลักขโมย | รัตนา | แก้ว |
เจดีย์ | สิ่งซึ่งก่อมียอดแหลม | โลหิต | เลือด |
จุติ | การกำเนิด | วัตถุ | สิ่งของ |
ฉิมพลี | ไม้งิ้ว | วิชา | ความรู้ |
ญาติ | คนในวงศ์วาน | วิญญาณ | ความรับรู้ |
ดิถี | วันตามจันทรคติ | วิตถาร | มากเกินไป, พิสดาร |
ดารา | ดาว, ดวงดาว | วิริยะ | ความเพียร |
ดุริยะ | เครื่องดีดสีตีเป่า | วิสุทธิ์ | สะอาด, หมดจด |
เดชะ | อำนาจ | วุฒิ | ภูมิรู้ |
ทัพพี | เครื่องตักข้าว | สงกา | ความสงสัย |
ทิฐิ | ความอวดดื้อถือดี | สังข์ | ชื่อหอยชนิดหนึ่ง |
นาฬิกา | เครื่องบอกเวลา | สงฆ์ | ภิกษุ |
นิพพาน | ความดับสนิทแห่งกิเลส | สูญ | ทำให้หายสิ้นไป |
นิลุบน | บัวขาบ | สิริ | ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล |
ปฏิทิน | แบบสำหรับดูวัน เดือน ปี | สันติ | ความสงบ |
ปฏิบัติ | ดำเนินการไปตามระเบียบแบบแผน | สัญญาณ | เครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยิน |
ปฐพี | แผ่นดิน | เสมหะ | เสลด |
ปกติ | ธรรมดา | สัจจะ | ความรู้สึก |
ปัญญา | ความรอบรู้ | สติ | ความรู้สึก |
ปัจจัย | เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล | โสมนัส | ความสุขใจ |
บุคคล | คน | อิทธิ | ฤทธิ์ |
บัลลังก์ | ที่นั่ง | อัคคี | ไฟ |
บุปผา | ดอกไม้ | อัจฉรา | นางฟ้า |
โบกขรณี | สระบัว | อนิจจา | คำที่อุทานแสดงความสงสารสังเวช |
ปฐม | ลำดับแรก | อัชฌาสัย | นิสัยใจคอ |
ปัญหา | ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง | อายุ | เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่ |
พยัคฆ์ | ชื่อพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลก | โอวาท | คำแนะนำ, คำตักเตือน |
ภัตตา | อาหาร | โอรส | ลูกชาย |
ภิกขุ | ภิกษุ | โอกาส | ช่อง, ทาง |
คำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต
- ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาตระกูลวิภัตติปัจจัย มีรูปคำสละสลวย ไพเราะ นิยมใช้เป็นคำราชาศัพท์ ภาษาในวรรณคดี ชื่อบุคคล และสถานที่ ฯลฯ
- ข้อสังเกตและตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต นิยมใช้ ฑ เช่น กรีฑา จุฑา ครุฑ ไพฑูรย์ วิฑาร ฯลฯ
- นิยมใช้ รร เช่น กรรณ ขรรค์ ครรภ์ ธรรม พรรษา บรรพต วรรค วรรณะ มหัศจรรย์ สรรพ สวรรค์ สุวรรณ อัศจรรย์ ฯลฯ
- นิยมมีอักษรควบกล้ำ เช่น กษัตริย์ เกษตร ตรุษ บุตร ปราชญ์ ปรารถนา พฤกษ์ เนตร ไมตรี ศาสตรา อาทิตย์ ฯลฯ
- ใช้ ศ ษ ประสมคำเป็นส่วนมาก เช่น กษัย เกษม เกษียณ ทักษิณ ทัศนีย์ บุษกร บุรุษ เพศ ภิกษุ มนุษย์ วิเศษ ศิลปะ ศิษย์ ศึกษา ศุกร์ ศูนย์ เศียร อักษร อัธยาศัย ฯลฯ ใช้ ส นำหน้าพยัญชนะวรรค ตะ (ต ถ ท ธ น) เช่น พัสดุ พิสดาร สตรี สถาน สถิต สถิติ สถาปนา สนธยา สัตย์ สันโดษ อัสดง ฯลฯ
- ประสมด้วยสระ ไอ เอา ฤ ฤ ๅ ฦ ฦ ๅ เช่น ไศล ไศวะ ไวทย์ ไวษณพ ไวยากรณ์ ไวศฺย ไอราวัณ ไอยรา เกาศัย เอารส ฤดี ฤทัย ฤทธิ์ ฤๅษี กฤษณา พฤติกรรม พฤษภาคม ทฤษฎี นฤมล มฤตยู ฦๅชา ฦๅสาย ฯลฯ
- มีหลักเกณฑ์ตัวสะกด ตัวตามไม่แน่นอน กัลป์ การบูร กีรติ โกรธ จักร จันทรา ดัสกร ทรัพย์ นิตยา ประพันธ์ ประพฤติ พยายาม ลักษณะ วิทยุ มนตรี มัตสยา มัธยม ศัพท์ ศาสนา ศาสตรา อาชญา อาตมา อาจารย์ อุทยาน ฯลฯ
ตัวอย่างคำภาษาสันสกฤต
คำยืมจากภาษาสันสกฤต
|
ความหมาย
|
คำยืมจากภาษาสันสกฤต
|
ความหมาย
|
กัลบก | ช่างตัดผม | มฤตยู | ความตาย |
กรรณ | หู, ใบหู | มนุษย์ | สัตว์ที่มีจิตใจสูง |
กรรม | การกระทำ | มนัส | ใจ |
กษัตริย์ | พระเจ้าแผ่นดิน | มารุต | ลม |
กัลป์ | อายุของโลก | มิตร | เพื่อน |
การบูร | ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง | มนตรี | ที่ปรึกษา |
กีรติ | เกียรติ | ไมตรี | ความหวังดีต่อกัน |
โกรธ | ขุ่นเคืองใจ | มหัศจรรย์ | แปลกประหลาดมาก |
กรีฑา | กีฬาประเภทหนึ่ง | ยักษา | ยักษ์ |
กษัย | การสิ้นไป | วรรค | ตอน |
เกษียณ | สิ้นไป | วรรณะ | สี |
เกษียร | น้ำนม | วัสดุ | วัตถุที่นำมาใช้ |
เกษตร | ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่ | พรรษา | ช่วงระยะเวลา 3 เดือน |
ครรชิต | เอิกเกริก, กึกก้อง | พยายาม | ทำโดยมานะ |
ครรภ์ | ท้อง | พฤศจิกายน | ชื่อเดือนที่ 11 |
จักร | อาวุธในนิยาย | วิทยุ | เครื่องรับวิทยุ |
จักรวาล | บริเวณโดยรอบของโลก | พิสดาร | แปลกพิลึก |
จันทรา | ดวงเดือน | วิเศษ | ยอดเยี่ยม, เลิศลอย |
จุฑา | ยอด, หัวมงกุฏ | เพศ | รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย |
ดัสกร | ข้าศึก | ศัพท์ | เสียง, คำ |
ทรมาน | ทำให้ลำบาก | ศาสนา | ลัทธิความเชื่อ |
ทรัพย์ | เงินตรา | ศาสตรา | ศัตรา, อาวุธ |
ทฤษฎี | เอาตามหลักวิชา | ศึกษา | การเล่าเรียน |
ทิศ | ด้าน | ศิลปะ | ฝีมือทางการช่าง |
ทหาร | ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ | ศิษย์ | ผู้ศึกษาวิชาความรู้ |
ทัศนีย์ | น่าดู, งาม | ศุกร์ | ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์ |
ทิพย์ | เป็นของเทวดา | ศูนย์ | ว่างเปล่า |
นักษัตร | ดาว, ดาวฤกษ์ | ศรี | สิริมงคล, ความรุ่งเรือง |
นมัสการ | การกราบไหว้ | เศียร | หัว |
นาที | ชื่อหน่วยเวลา | สัตย์ | ความจริง |
นฤคหิต | ชื่อเครื่องหมาย | สันโดษ | มักน้อย |
นิตยา | สม่ำเสมอ | สมปฤดี | ความรู้สึกตัว |
นิทรา | การหลับ | สตรี | ผู้หญิง |
นฤมล | ไม่มีมลทิน | สวรรค์ | โลกของเทวดา |
เนตร | ดวงตา | สรรพ | ทุกสิ่ง, ทั้งปวง |
บุษบา | ดอกไม้ | สุวรรณ | ทอง |
บรรพต | ภูเขา | สถาปนา | แต่งตั้งให้สูงขึ้น |
บุษกร | ดอกบัวสีน้ำเงิน | สดุดี | คำยกย่อง |
บุรุษ | ผู้ชาย | สกล | สากล |
ประเทศ | บ้านเมือง, แว่นแคว้น | สกุล | ตระกูล, วงศ์ |
ประทีป | ไฟที่มีเปลวสว่าง | อักษร | ตัวหนังสือ |
ประพันธ์ | แต่ง, เรียบเรียง | อาตมา | ตัวเอง |
ประพฤติ | การกระทำ | อัศจรรย์ | แปลก, ประหลาด |
ประเวณี | การเสพสังวาส | อัธยาศัย | นิสัยใจคอ |
ประมาท | ขาดความรอบคอบ | อารยะ | เจริญ |
ประโยค | ข้อความที่ได้รับความบริบูรณ์ | อวกาศ | บริเวณที่อยู่นอกโลก |
ประถม | ลำดับแรก | อาจารย์ | ผู้สั่งสอนวิชาความรู้ |
ภักษา | อาหาร | อาทิตย์ | ดวงอาทิตย์ |
ภิกษุ | ชายที่บวช | อุทยาน | สวน |
ข้อแตกต่างของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาตระกูลเดียวกัน และมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอินเดียเหมือนกัน จึงมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่มีข้อแตกต่างที่เปรียบเทียบได้ดังนี้
![](https://aolfkun.files.wordpress.com/2016/03/image10.jpg?w=584)
ข้อสังเกตเพิ่มเติมสำหรับคำที่ใช้ในภาษาบาลี-สันสกฤต คือ
- คำบาลีมี ณ อยู่หลัง ร เช่น นารายณ์ พราหมณ์ สาราณียกร ฯลฯ
- คำที่มี “เคราะห์” อยู่ในคำจัดเป็นคำสันสกฤต เช่น พิเคราะห์ สงเคราะห์ สังเคราะห์ ฯลฯ
- คำที่ประสมสระไอ เอ ถ้าเป็นสระที่เกิดจากการแผลงคำขึ้นใช้ในภาษาไทยไม่นับว่าเป็นภาษาสันสกฤต เช่น
มโหฬาร = มเหาฬาร โอฬาร = เอาฬาร นิพพาน = นฤพาน เทยฺยทาน = ไทยทาน อุปเมยฺย = อุปไมย เวยเนยฺย = เวไนย - คำที่ใช้ ศ ษ จัดเป็นคำไทยที่รับมาจากภาษาสันสกฤต ยกเว้นศอกศกศึกศอเศร้าเลิศกระดาษดาษดาดารดาษอังกฤษ
- คำที่ใช้ “รร” ซึ่งเป็นคำไทยที่เกิดจากการแผลงไม่นับเป็นสันสกฤต เช่น กรรเช้า ครรไล บรรเลง
การนำเอาคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย
- เลือกรับคำภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น
- เลือกรับแต่คำภาษาบาลี เช่น กังขา ขันติ จุติ เมตตา วินิจฉัย วิสัญญี ฯลฯ
- เลือกรับแต่คำภาษาสันสกฤต เช่น จักรพรรดิ ตรรกะ ทรัพย์ ปรารถนา รักษา ฯลฯ
- เลือกใช้รูปคำภาษาสันสกฤตแต่ใช้ความหมายของภาษาบาลี เช่นเปรต (ส.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, วิญญาณของบรรพบุรุษ เปต (บ.) แปลว่า ผู้ที่ตายไปแล้ว, สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับผลกรรมตามที่เคยทำไว้ ไทยใช้รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ “เปรต” ในความหมายของภาษาบาลี คือ สัตว์ในอบายภูมิประเภทหนึ่งซึ่งรับผลกรรมตามที่เคยทำไว้ปรเวณี (ส.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี ปเวณี (บ.) แปลว่า ผมเปีย, ผ้าซึ่งทอจากเปลือกไม้ย้อมสี, สิ่งที่สังคม ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ไทยใช้รูปคำตามภาษาสันสกฤต คือ “ประเพณี” ในความหมายของภาษาบาลี คือ สิ่งที่สังคมปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง
- รับมาทั้งสองภาษาในความหมายเดียวกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ความหมาย กญฺญา กนฺยกา กัญญา, กันยา หญิงสาว ถาวร สฺถาวร ถาวร, สถาพร มั่นคง, แข็งแรง ธุช ธวช ธุช, ธวัช ธง
- รับมาทั้งสองภาษาแต่ใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น บาลี สันสกฤต ไทยใช้ความหมาย เขตฺต เกฺษตฺร – นา, ไร่, บริเวณ, แดน เขต บริเวณ, แดน เกษตร นา, ไร่ สามญฺญ สามานฺย – ชั่วช้า, ทั่วไป สามัญ ทั่วไป สามานย์ ชั่วช้า
อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=YklktAA5ZbI&t=12s
https://aolfkun.wordpress.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/76-2/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น